เจ้าของ : กลุ่มคุณสมจิต ขวัญทอง
วัสดุที่ทำ : ด้ายในล่อนขาว/ด้ายสานแห,ลูกแห/ลูกโซ่/ตะกั่ว
วิธีการทำ : 1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน
2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอดแบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่างงานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห
3. เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีของแหสมัยก่อนจะย้อมจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เปลือกไม้ หรือ ผล เช่น ผลตะโกตำให้แหลกเป็นน้ำ แล้วนำแหมาหมักทิ้งไว้ในน้ำตะโก 1 คืน (จะได้สีออกแดง) และเอาขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วหมักโคลนต่อเพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งการหมักตะโกนี้จะทำให้แหมีสีออกดำ และอีกวิธีหนึ่ง จะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน
ประโยชน์ : ใช้จับปลา
ราคา : 300-500 บาท ตามขนาด
ช่องทางจำหน่าย : กลุ่มคุณสมจิต ขวัญทอง หรือสั่งทำ
ติดต่อ : คุณสมจิต ขวัญทอง เลขที่ 65 หมู่7 บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 42180 โทรศัพท์ 086-2799295 หรือผู้ใหญ่บ้านผาฆ้อง คุณคำหมุน ป้องกัน เลขที่ 140 หมู่ที่ 7 บ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 42180 โทรศัพท์ 099-3279059