หวดนึ่งข้าวสมัยใหม่ (หวดจิ๋ว)

฿120.00

เจ้าของ    : กลุ่มชุมชนบ้านผาฆ้อง

วัสดุที่ทำ   : ไม้ไผ่บ้าน หวาย ก้านตาล

ประโยชน์ :  ใช้นึ่งข้าว

คำอธิบาย

หวดนึ่งข้าวสมัยใหม่ (หวดจิ๋ว)

เจ้าของ    : กลุ่มชุมชนบ้านผาฆ้อง

วัสดุที่ทำ   : ไม้ไผ่บ้าน หวาย ก้านตาล

วิธีการทำ  :

1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานหวด ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาสานหวดนึ่งข้าว สำหรับไผ่ที่ใช้ทำหวดนึ่งข้าว ได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 10 เดือน – 1 ปี การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

2. ใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียวออกและตากแดด เพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน

3. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด และหวดนึ่งข้าวที่ได้จะมีความสวยงาม เวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย หลังจากนั้นนำไปตากแดดเพื่อไม่ให้ขึ้นรา

4. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 46 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานหวดได้ โดยนำตอกมาโค้งงอให้มีกึ่งกลางเพื่อให้เป็นจุดกึ่งกลางในการสาน

5. บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานหวดนึ่งข้าว ก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสองสลับกันขึ้นลง โดยใช้กึ่งกลางตอกที่พับโค้งไว้อยู่ที่ด้านนอกของการสาน โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร

6. เมื่อสานได้ยาวจนนับจำนวนตอกได้ 23 คู่ หรือ 46 เส้น ให้นำชายทั้งสองข้างซ้าย-ขวามาประกับกันโดยใช้ตอกมามัดยึดไว้ให้เป็นทรงกระบอก

7. จากนั้นพอได้หวดเป็นรูปทรงกระบอกแล้วก็สานซ้าย-ขวาประกบกันโดยใช้ลายสองเหมือนการสานชิ้นงานเริ่มต้น

8. และเมื่อนำมาประกบกันเป็นชิ้นงานเดียวกันรูปทรงกระบอกแล้ว ก็สานลายสองเวียนทั้งด้านบนและด้านล่างให้ได้ขนาดตามต้องการ

9. เมื่อได้ขนาดตามต้องการแล้วฉีดน้ำเพื่อให้หวดมีความอ่อนตัว และพับหวดลงมาให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นหวดนึ่งข้าว ที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย

10. ส่วนก้นของหวดนึ่งข้าว นั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันตัดเป็นรูปวงกลมให้พอดีกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหวด

11. ส่วนก้นของหวดผูกติดกับส่วนตัวหวดนึ่งข้าว เย็บด้วยลายโซ่ ซึ่งมีการเย็บโดยใช้วัสดุอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน

12. ฐานของหวด เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาให้มีขนาดเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของหวด และไขว้กันเป็นกากบาท ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำฐานหวดนึ่งข้าว ได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน

13. ใช้สว่านเจาะส่วนฐานของหวดเพื่อยึดกับตัวหวด

14. ใช้หวานรอยยึดฐานของหวดกับตัวตัวหวดด้วยหวายทั้ง 4 ด้าน

15. ส่วนหูของหวดถักหวายเป็นลายโซ่และยึดติดกับตัวหวดทั้ง 2 ด้าน

ประโยชน์ :  ใช้นึ่งข้าว

ราคา       :  120 บาทตามขนาด

ช่องทางจำหน่าย : กลุ่มชุมชนบ้านผาฆ้อง หรือสั่งทำ

ติดต่อ      : ผู้ใหญ่บ้าน คุณคำหมุน ป้องกันเลขที่ 140 หมู่ที่ 7
ตำขที่ญ่บ้านคุณิบ สันตามที่ตัวเองห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 42180 โทรศัพท์ 099-3279059

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “หวดนึ่งข้าวสมัยใหม่ (หวดจิ๋ว)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *